ถ้ำซำ หรือถ้ำสัม Sum Cave (Ancient paintings cave)
ถ้ำซำ - ถ้ำสัม - Sum Cave
ภาพเขียนยุคต้นรัตนโกสินทร์ บนผนังถ้ำซำ ใครเป็นผู้เขียน และรูปภาพเหล่านี้หมายความว่าอะไร ตามมาค้นหาความหมายกันค่ะ ต้องกราบขอบพระคุณ อจ.ชัยณรงค์ ณ นคร สำหรับข้อมูลทางประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่านี้ค่ะ
The wall painting inside Sum Cave was painted during early Ratanakosin period. Who painted them and what are the stories behind? Let's find out.
Cr. Mr.Chainarong Na Nakorn for the information.
บึงน้ำปากทางเข้าถ้ำ สร้างความสงบ ร่มเย็น ตั้งแต่ก้าวแรกที่มาถึง
Once you step to its entrance, the pond welcome you with this calmness and serenity.
มีหลักฐานหลายอย่างระบุว่าผู้ที่ให้เขียนภาพจิตรกรรมบนผนังถ้านี้คือเจ้าพระยาบริรักษ์ภูธร (ขำ) ซึ่งเป็นพ่อเมืองพังงาท่านที่สอง ตรงกับช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ซึ่งท่านขำใช้ถ้ำแห่งนี้เป็นที่นั่งวิปัสนากรรมฐาน ท่านเป็นที่เลื่องลือถึงความเด็ดขาด รอบรู้เรื่องเมืองที่ท่านปกครอง และเป็นผู้มีอาคมแก่กล้า และถ้ำนี้ตามความตั้งใจของท่านน่าจะชื่อ "สัม" ที่ตัดสั้นมาจาก "สัมมาคาระวะ" เพื่อแสดงถึงความระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ที่สำนักเขาอ้อ ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ท่าน
There were connections between the pictures on the cave wall and the second governor of Phang Nga. He had used this cave as his meditation place.
ภาพยักษ์นี้ ท่านขำให้วาดเลียนแบบจากสำนักเขาอ้อ จ.พัทลุง ซึ่งท่านได้เคยศึกษาเล่าเรียนวิชาอาคมที่สำนักนี้ จึงให้วาดภาพยักษ์เพื่อคุ้มครองสถานที่นี้
Thus the giants were to protect him the same way the giants at the gate at Khao Or temple where he had spent his youth studying there.
นกอินทรี บินอยู่เหนือเมือง เปรียบเสมือนตัวท่านที่คอยปกปักรักษาคุ้มครองชาวเมืองพังงา และยังมีภาพต้นไม้และสัตว์ต่างๆ ในพระราชหัตถเลขาของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้กล่าวไว้ว่า พ่อเมืองพังงาผู้นี้เป็นนักเลงต้นไม้ นักเลงสัตว์ เป็นผู้มีความรู้เรื่องต้นไม้และสัตว์ป่าเป็นอย่างดี
The eagle resembled himself overlooking and protecting the whole town. There were many pictures of strange plants and wild animals. King Rama V even wrote in his personal memoir that this governor was also a guru in botany and wild animals.
ภาพงานศพ การเผาบนเชิงตะกอน เหมือนเป็นงานศพชาวบ้านทั่วไป สันนิษฐานได้ 3 อย่างว่า
1. เป็นงานศพเจ้าพระยาบริรักษ์ภูธร (แสง) บิดาของท่าน ที่กว่าจะได้เผาต้องรอหินจุดเพลิงพระราชทานจากในวังถึง 3 วัน
2. เป็นงานศพเจ้าจอมมารดายี่สุ่น ในรัชกาลที่ ๓ พี่สาวของท่าน
3. เป็นการสั่งเสียถึงงานศพของท่านเอง เนื่องจากตัวท่านเองเป็นคนสมถะ
There was no record about the funeral but it could be assumed that it was the funeral of:
1. His father, the first governor of Phang Nga. Though he was the most important of the town at that time, he was very humble and had simple cremation rite as commoners.
2. His sister who was in the court of King Rama III, had 2 daughters with him. She was also care giver of King Rama V.
3. His will on how his funeral should be held.
ภาพแขก หมายถึงชาวมาเลย์ที่ติดตามท่านแสงมาจากไทรบุรี ก่อนหน้าที่ท่านแสงจะขึ้นเป็นพ่อเมืองพังงาคนแรกท่านปกครองเมืองไทรบุรีมาก่อน เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ชาวไทรบุรี กลันตัน ตรังกานูก่อการกบฎ เมื่อท่านย้ายมาพังงา ท่านจึงขนทหาร อาวุธ ยุทโธปกรณ์มาด้วยทั้งหมด แล้วให้ชาวมาเลย์เหล่านี้อยู่ตามชายฝั่งทะเล ปัจจุบันจึงมีอาหารตำหรับไทรบุรีหลงเหลืออยู่ในพังงา
The Muslim: They were soldiers and their families the first governor brought to Phang Nga with him. The first governor had governed Saiburi (currently part of Northern Malaysia and Southern Thailand). Afraid that they would rebel against Siam, he brought soldiers and all arm forces with him. That's why we can find some traditional Saiburi dishes in Phang Nga nowadays.
คนจีนที่เข้ามาทำงานในพังงา ในช่วงนั้นก็มีจำนวนมาก ส่วนใหญ่จะเข้ามาทำการค้า และเป็นแรงงานเหมืองแร่ดีบุก
There were many Chinese immigrants coming to Phang Nga during that time to be the laborers in Tin mines.
แม้จะอยู่ในตัวเมืองพังงา ไม่ไกลจากหลังตลาดกราภูงา ถ้ำแห่งนี้ก็ยังมีธรรมชาติที่สมบูรณ์ สวยงามในปัจจุบัน ท่านที่ต้องการเที่ยวรองเมืองพังงา แบบเจาะลึก เข้าถึง เข้าใจ ติดต่อมาที่โรงแรมทวีสุขได้นะคะ
Despite locating near the town center nowadays, Sum Cave remains green and peaceful. There are many things to do in Phang Nga. Experience the Thainess.
Comments
Post a Comment